วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560



วิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
(Learning Experiences Management in Early Childhood Education)
อาจารย์ผู้สอน:จินตนา สุขสำราญ
ประจำวันที่:จันทร์ที่ 23 มกราคม 2560 เวลา 11.30 - 14.30
เรียนครั้งที่:1
กลุ่มเรียน 102 จันทร์ ห้อง 34-301





ความรู้ที่ได้รับ

Knowledge (ความรู้)

         สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน อาจารย์แจก Course Sallybus และได้ชี้แจงแนวการสอน ความสำคัญของรายวิชา และเนื้อหาสาระที่ต้องได้เรียนในภาคเรียนนี้ และแจ้งเกณฑ์การให้คะเเนน พร้อมกับทบทวนความรู้เดิมด้วย

**Learning Outcomes**
      1.มีคุณธรรม จริยธรรม
      2.มีความรู้
      3.มีทักษะด้านทางปัญญา
      4.มีทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
      5.มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
      6.มีทักษะการจัดการเรียนรู้

➤ พัฒนาการ คือ
           ความสามารถที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไปตามลำดับขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับและสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง

     พัฒนาการ จะมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่
           1. ด้านร่างกาย
           2. ด้านอารมณ์-จิตใจ
           3. ด้านสังคม
           4. ด้านสติปัญญา (สำคัญที่สุด) แบ่งเป็น 2 ด้าน
               - ภาษา
               - การคิด มี 2 ประเภท คือ
                     - สร้างสรรค์
                     - เชิงเหตุผล คือ คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์

ทำไมจึงต้องทราบพัฒนาการของเด็ก??
         เพราะ จะทำให้เราสามารถจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินเด็กด้วย

➤ วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          การเรียนรู้ คือ การที่เด็กมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม
          วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
            **เรียนรู้ได้โดยการลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ**
                                      ตา -  ดู
                                      หู  - ฟัง
                                      จมูก - ดมกลิ่น
                                      ลิ้น - ชิมรส
                                      กาย - สัมผัส

          * ถ้าเด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขิ้น *

➤ การทำงานของสมอง
              สมองคนเราจะทำงานเหมือนกับฟองน้ำที่ดูดซึม โดยที่การดูดซึมจะเกิดจากการลงมือกระทำผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 และสมองยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งในตอนเรานอนหลับ

➤ การปรับความรู้ใหม่
             คนเรามีความรู้เดิมอยู่แล้วรับความรู้ใหม่เข้ามา  สมองจะเกิดเป็นการปรับความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความรู้เดิม เมื่อเราปรับความรู้แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปเพื่อความอยู่รอด
       
              **เช่น เด็กหญิงมาลีมีตุ๊กตาแมวอยู่ตัวหนึ่ง ทุกวันเด็กหญิงมาลีก็จะกอดจะหอมและกัดตุ๊กตาแมวเป็นประจำ วันหนึ่งเด็กหญิงมาลีได้ไปเยี่ยมคุณยายที่ต่างจังหวัด เห็นแมวน้อยน่ารักนอนอยู่ตรงระเบียง เด็กหญิงมาลีจึงเข้าไปอุ้มและกัดเจ้าแมวเพราะนึกว่าจะเหมือนตุ๊กตาแมวที่บ้าน เมื่อเจ้าแมวโดนกัดมันจึงข่วนเด็กหญิงมาลี เด็กหญิงมาลีร้องไห้ วันต่อมาเด็กหญิงมาลีจึงไม่ไปอุ้มและกัดแมวตัวนั้นอีก เพราะได้เรียนรู้ว่าเเมวที่อยู่บ้านคุณยายไม่เหมือนตุ๊กตาแมวที่บ้านของตนเอง**

*พัฒนาการ = ตัวสะท้อนพัฒนาการ เช่น เด็กต้องเดินได้
*คุณลักษณะตามวัย = เด็กแสดงออกมา เช่น เด็กเดิน
*ความต้องการ = สิ่งที่เด็กต้องการแสดงออกมา เช่น เด็กอยากเดิน


Skill (ทักษะ)
       - การคิดวิเคราะห์
       - การตอบคำถาม

Application  (การประยุกต์ใช้)  
        นำความรู้และเเนยงทางที่อาจารย์ให้ในวันนี้ไปใช้ในการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมให้เกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตได้


Technical Education (เทคนิคการสอน)
       - เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       - ใช้คำถาม
       - ให้เด็กมีส่วนร่ามในการเรียน



สรุป   พัฒนาการคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน เป็นลำดับขั้น
ตอนอย่างต่อเนื่อง โดยมีช่วงอายุเป็นตัวกำกับสมองทำงานเหมือนฟองน้ำ ทำงานดดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือกระทำสมองทำงานตลอดเวลา เพราะร่างกายและประสาทสัมผัสยังทำงานอยู่ตลอดเวลาการรู้พัฒนาการ เพื่อที่เราจะได้จัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ และยังใช้เป็นเกณฑ์วัดและประเมินผลวิธีการเรียนรู้ของเด็กคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยการลงมือกระทำ การเล่น ความสนใจเกิดจากพัฒนาการ



ประเมินผู้สอน : คุณครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สอนเข้าใจมีน้ำเสียงที่น่าฟัง
ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆมีสมาธิในการเรียน
ประเมินตนเอง: มีสมาธิขณะเรียน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น